ข้อมูลทั่วไป อบต.แม่นาเรือ
ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาเรือ
คำขวัญตำบลแม่นาเรือ
สภาพทั่วไป
ที่ตั้ง ==> ตำบลแม่นาเรือเป็นตำบลที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเมืองพะเยา
ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบระหว่างเชิงเขาผีปันน้ำ ตั้งอยู่พิกัด GPS 57 Q 0590313 UTM 2112857
เนื้อที่
เนื้อที่ทั้งหมดขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาเรือ จำนวน 117.17 ตารางกิโลเมตร หรือ 73,231.25 ไร่
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลตุ่น
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลแม่กา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลแม่ใส
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอวังเหนือ
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่ประมาณ 65 % เป็นพื้นที่ราบเรียบ
การไหลของน้ำบนผิวปานกลาง พื้นที่ประมาณ 35 %
เป็นเขาและเทือกเขาจากทิศเหนือจดทิศใต้ มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ 8 แห่ง คือ
1. ห้วยแม่นาเรือ หมู่ที่ 6
2. ห้วยม่วง หมู่ที่ 5
3. ห้วยฮ่องแล้ง หมู่ที่ 7
4. ห้วยเตาปูน หมู่ที่ 14
5. ห้วยโซ้ หมู่ที่ 2
6. ห้วยน้ำขาว หมู่ที่ 2
7. ห้วยดินแดง หมู่ที่ 14,18
8. ห้วยร่องคำ หมู่ที่ 3,4,5,12,15
ลักษณะภูมิอากาศ
เป็นแบบมรสุมมี 3 ฤดู คือ
– ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือน มีนาคม – มิถุนายน อากาศจะร้อนอบอ้าว
เฉลี่ยโดยทั่วไปในช่วงฤดูร้อน 30 – 40 องศาเซลเซียส
– ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือน กรกฎาคม – ตุลาคม
– ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือน พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ อากาศหนาวถึงหนาวจัด
อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 16 องศาเซลเซียส ลงไปถึง 10 องศาเซลเซียส
จำแนกรายได้ประชากรเฉลี่ยต่อคนต่อปีในแต่ละหมู่บ้าน
หมู่ | ชื่อหมู่บ้าน | จำนวนครัวเรือน | จำนวนประชากร | รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี |
1 | บ้านสันขี้เหล็ก | 159 | 461 | 29,326 |
2 | บ้านโซ้ | 415 | 867 | 36,478 |
3 | บ้านร่องคำหลวง | 237 | 544 | 37,100 |
4 | บ้านร่องคำน้อย | 124 | 277 | 37,493 |
5 | บ้านไร่ | 204 | 559 | 38,223 |
6 | บ้านสันป่าสัก | 151 | 384 | 38,749 |
7 | บ้านซ่อน | 213 | 554 | 41,679 |
8 | บ้านแม่นาเรือปง | 154 | 421 | 44,141 |
9 | บ้านแม่นาเรือสันทราย | 138 | 358 | 45,660 |
10 | บ้านแม่นาเรือใต้ | 284 | 776 | 46,512 |
11 | บ้านแม่นาเรือโบสถ | 191 | 396 | 46,881 |
12 | บ้านร่องคำดง | 205 | 501 | 48,991 |
13 | บ้านไร่สันจำปา | 217 | 516 | 49,314 |
14 | บ้านแม่นาเรือสันป่างิ้ว | 190 | 516 | 49,576 |
15 | บ้านร่องคำศรีชุม | 147 | 452 | 50,775 |
16 | บ้านแม่นาเรือปง | 154 | 421 | 52,034 |
17 | บ้านแม่นาเรือสันทราย | 171 | 490 | 56,406 |
18 | บ้านเหล่าพัฒนา | 120 | 438 | 69,845 |
รวม | 3,474 | 8,931 | 45,198 |
ประชากร
มีประชากรทั้งสิ้น ๙,๐๑๖ คน แยกเป็นชาย ๔,๔๕๐ คน หญิง ๔,๕๖๖ คน จำนวนครัวเรือนทั้งหมด ๓,๓๔๘ ครัวเรือน มีความหนาแน่นเฉลี่ย ๗๗ คน/ตารางกิโลเมตร
***แยกประชากรรายหมู่บ้าน***
สภาพทางเศรษฐกิจ
การเกษตรกรรม
ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพด้านการเกษตร ซึ่งตำบลมีพื้นที่การเกษตรทั้งสิ้น ๑๙,๙๘๙ ไร่
โดยผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ แยกได้ดังนี้
1. ข้าว | พื้นที่ปลูก | 8,284 ไร่ |
2. ฟักทอง | พื้นที่ปลูก | 4,002 ไร่ |
3. หอมแดง | พื้นที่ปลูก | 500 ไร่ |
4. กระเทียม | พื้นที่ปลูก | 350 ไร่ |
5. หอมแบ่ง | พื้นที่ปลูก | 1,800 ไร่ |
6. ขิง | พื้นที่ปลูก | 3,000 ไร่ |
7. ข้าวโพด | พื้นที่ปลูก | 350 ไร่ |
8. ยาสูบ | พื้นที่ปลูก | 44 ไร่ |
9. ลำไย | พื้นที่ปลูก | 924 ไร่ |
10. มะม่วง | พื้นที่ปลูก | 236 ไร่ |
11. มะขาม | พื้นที่ปลูก | 499 ไร่ |
12. ยางพารา | พื้นที่ปลูก | 580 ไร่ |
การปศุสัตว์
ส่วนใหญ่มีลักษณะเลี้ยงไว้เพื่อบริโภคและใช้งาน การเลี้ยงเพื่อเป็นการค้ายังมีน้อย สัตว์ที่เลี้ยง
มีดังนี้ โค กระบือ สุกร ไก่ เป็ด ฯลฯ
การอุตสาหกรรม
โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดย่อม ดังนี้
1. โรงงานขิง จำนวน 1 แห่ง
๒. โรงโม่หิน จำนวน 1 แห่ง
๓. โรงสีข้าว จำนวน 20 แห่ง
๔. โรงผลิตน้ำดื่ม จำนวน 6 แห่ง
การพาณิชย์
ในด้านการพาณิชกรรม มีสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดเล็ก จำนวน ๓ แห่ง และ
สถานบริการตัดผมในพื้นที่ จำนวน 12 แห่ง
การท่องเที่ยว
มีสถานที่ท่องเที่ยว ได้แก่ วัดพระธาตุภูขวาง อ่างเก็บน้ำแม่นาเรือ จุดชมทิวทัศน์
ถนนสายพะเยา – วังเหนือ
สภาพทางสังคม
การศึกษา
สถานศึกษามีเพียงพอกับความต้องการของประชาชน มีดังนี้
1. โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 4 แห่ง
2. ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน 18 แห่ง
3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง
4. หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน จำนวน 40 จุด
ด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
ด้านศาสนา ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประมาณร้อยละ 99 ศาสนาอื่นๆ ประมาณ ร้อยละ 1
1. สถาบันหรือองค์กรทางศาสนา วัด/สำนักสงฆ์ จำนวน 6 แห่ง
2. วัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่น ได้แก่ ประเพณีสลากภัต , ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา
, ประเพณีแห่ช้างเผือก , ประเพณีสรงน้ำพระธาตุภูขวาง
การสาธารณสุข
1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน ๒ แห่ง
2. ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน ๒ แห่ง
3. ศูนย์ ศสมช. จำนวน ๑๘ แห่ง
4. อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ ๑๐๐
ระบบบริการพื้นฐาน
การคมนาคม
การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัด รวมทั้งการคมนาคมภายในตำบลและหมู่บ้าน
ใช้เส้นทางทางบกเป็นหลัก มีรายละเอียดดังนี้
1. ทางหลวงแผ่นดิน ถนนสายพะเยา – แม่นาเรือ – วังเหนือ – เชียงใหม่
2. ทางหลวงชนบท ถนนแม่นาเรือ – แม่ใจ
3. ทางหลวงชนบท ถนนแม่นาเรือ – ร่องคำ
4. ทางหลวงชนบท ถนนสันป่าสัก – วิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยีพะเยา – วังเหนือ
5. ถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ภายในหมู่บ้านและระหว่างหมู่บ้าน จำนวน ๓๐ สาย
6. ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในหมู่บ้านและระหว่างหมู่บ้าน จำนวน ๓ สาย
7. ถนนลูกรังภายในหมู่บ้านและระหว่างหมู่บ้าน จำนวน ๔๕ สาย
8. ถนนดินที่ไปสู่พื้นที่ทำการเกษตร จำนวน ๑๕ สาย
การสาธารณูปโภค
มีไฟฟ้าใช้ครบทุกหมู่บ้าน
1. มีประปาหมู่บ้าน จำนวน ๑๒ แห่ง
2. มีบ่อน้ำบาดาล จำนวน ๒๑ แห่ง
3. มีบ่อน้ำตื้น จำนวน ๑,๓๔๕ แห่ง
4. มีถังเก็บน้ำ จำนวน ๒๑ แห่ง
5. มีโอ่งเก็บน้ำ จำนวน ๓๒๑ ใบ
การโทรคมนาคมติดต่อสื่อสาร
1. มีที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน ๑ แห่ง
2. มีการให้บริการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์อย่างทั่วถึง ๑๘ หมู่บ้าน
ข้อมูลอื่น ๆ
ทรัพยากรธรรมชาติ
1. ทรัพยากรดิน พื้นที่ร้อยละ ๖๕ เป็นที่ราบลุ่ม ส่วนร้อยละ ๓๕ เป็นพื้นที่ลาดชันเล็กน้อย มีการไหลบ่าของน้ำระดับปานกลาง
2. ทรัพยากรน้ำ มีอ่างเก็บน้ำ จำนวน ๓ แห่ง มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ ลำห้วยต่าง ๆ จำนวน ๘ สาย
3. ทรัพยากรป่าไม้ มีพื้นที่ป่าไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เขตป่าบ้านโซ้ ป่าสันป่าสัก ป่าร่องคำป่าสันขี้เหล็กประมาณ ๓ / ๔ ของพื้นที่ทั้งหมด ปัจจุบันพื้นที่ป่าที่เหลือและป่าไม่สมบูรณ์ ประมาณ ๖๙,๐๖๙ ไร่
ศักยภาพในตำบล
ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาเรือ
จำนวนบุคลากร
– จำนวนพนักงานส่วนตำบล รวมทั้งหมด อัตรา
– ตำแหน่งปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 1 อัตรา
– ตำแหน่งรองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 1 อัตรา
– ตำแหน่งในสำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน อัตรา
– ตำแหน่งในส่วนการคลัง จำนวน อัตรา
– ตำแหน่งในส่วนโยธา จำนวน อัตรา
ระดับการศึกษา
– อาชีวศึกษา ปวช. จำนวน – คน
– อนุปริญญา ปวส. ปวท. จำนวน คน
– ปริญญาตรี จำนวน คน
– ปริญญาโท จำนวน คน
รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ จำนวน ๒๑,๙๔๐,๗๑๑.๒๑ บาท แยกเป็น
– รายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดเก็บเอง จำนวน ๒๓๔,๖๖๔.๒๙ บาท
– รายได้ที่ส่วนราชการต่าง ๆ จัดเก็บให้ จำนวน ๑๐,๗๖๒,๑๑๙.๖๐ บาท
– เงินอุดหนุนจากรัฐบาล จำนวน ๑๐,๙๔๓,๙๒๗.๓๒ บาท
ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่
การอพยพแรงงานมีน้อย
ประชาชนมีความรู้ระดับปานกลาง
สภาพพื้นที่เหมาะสมในการส่งเสริมการเกษตรและอุตสาหกรรมในครัวเรือน-อุตสาหกรรมพื้นบ้าน